แผนผังอาคารผู้โดยสาร

แผนที่ตั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีพื้นที่ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนบางนาตราด ประมาณกิโลเมตรที่ 15 อยู่ในเขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันออก 25 กิโลเมตร

( หากต้องการทราบเส้นทางที่เหมาะสมในการเดินทางเข้าสู่ สนามบิน ลองคลิ๊กที่นี่ )

เส้นทาง เข้า ออก
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีระบบถนนและรถไฟฟ้าเข้าออกทั้งหมด 6 เส้นทาง คือ

ทิศเหนือ
-เป็นถนนยกระดับขนาด 8 ช่องจราจร จากถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ เข้าสู่อาคารผู้โดยสาร

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
-เป็นถนนขนาด 6 ช่อง เชื่อมกับทางยกระดับจากถนนร่มเกล้าและถนนกิ่งแก้ว

ทิศใต้
-เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมกับถนนบางนา-ตราด และทางด่วนบูรพาวิถี

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
-เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมกับถนนอ่อนนุช

ทิศตะวันตก
-เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร เชื่อกับถนนกิ่งแก้ว

*รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายพญาไท – มักกะสัน – สุวรรณภูมิ วิ่งเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร
*มีสถานีรถไฟฟ้าใต้อาคารผู้โดยสาร

องค์ประกอบของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศที่พร้อมด้วย
สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันได้แก่

1. ระบบทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน
-ทางวิ่ง มี 2 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร
ห่างกัน 2,200 เมตร มีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 2 เส้น ให้บริการขึ้น-ลง
ของอากาศยานได้พร้อมกัน และเมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว จะมีทางวิ่งทั้งหมด 4 เส้น
เป็นทางวิ่งข้างละ 2 เส้นขนานกัน

-หลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 120 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอด
ระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) ในจำนวนนี้มีการเตรียมหลุมจอดอากาศยานขนาดใหญ่ไว้ด้วย
จำนวน 5 หลุมจอด

2. อาคารผู้โดยสาร
-เป็นอาคารเดี่ยว มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ตารางเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ
ท่าอากาศยานรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี ภายในอาคารครบครันด้วย
สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น จุดตรวจบัตรโดยสาร 360 จุด จุดตรวจหนังสือเดินทาง
ขาเข้า 124 จุด ขาออก 72 จุด โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยแบบ 100%
Hold Baggage In-line Screening System นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
อยู่ใต้อาคารอีกด้วย

3. อาคารจอดรถ
-มี 2 อาคาร แต่ละอาคารสูง 5 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสาร สามารถรองรับรถยนต์
ได้ถึง 5,000 คัน นอกจากนี้ยังมีที่จอดรถบริเวณอื่นๆ รวมทั้งหมดกว่า 15,677 คัน

4. ระบบสาธารณูปโภค
-ระบบป้องกันน้ำท่วม มีการสร้างเขื่อนดินสูง 3.5 เมตร กว้าง 70 เมตร โดยรอบพื้นที่
ท่าอากาศยาน และมีอ่างเก็บน้ำภายใน 6 แห่ง ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้ 3.2 ล้านลูกบาศก์เมตร

-ระบบน้ำประปา เชื่อมต่อกับระบบประปาของการประปานครหลวง และมีถังน้ำประปา
สำรองขนาด 40,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถสำรองน้ำประปาไว้ใช้ได้ 2 วัน

-สถานีแปลงไฟฟ้าย่อย เป็นสถานีแปลงไฟฟ้าเพื่อลดแรงดันไฟฟ้าจาก 115 กิโลโวลท์
ให้เหลือ 24 กิโลโวลท์ มีจำนวน 2 สถานี เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้แก่ทุกระบบภายในท่าอากาศยาน

-ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 16,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

-ระบบจัดเก็บกากของเสีย สามารถกำจัดกากของเสียได้ประมาณ 100 ตันต่อวัน

5.ระบบบริการคลังสินค้า
-มีพื้นที่ให้บริการประมาณ 568,000 ตารางเมตร และมีการให้บริการแบบเขตปลอดพิธี
การศุลกากร (Free Zone) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งรองรับสินค้าได้
3 ล้านตันต่อปี

6. ระบบโภชนาการ
-สามารถผลิตอาหารให้แก่สายการบินต่างๆ ได้ 65,000 ชุดต่อวัน

7. โรงซ่อมบำรุงอากาศยาน
-มีจำนวน 2 โรง ซึ่งสามารถจอดอากาศยานขนาดใหญ่ A380 ได้

8. ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ
-มีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก 132 เมตร พร้อมระบบการนำร่องอากาศยานที่ทันสมัย

9. โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
-อยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสารในระยะแรก มีจำนวน 600 ห้อง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก
ต่างๆ
-นอกจากนี้ภายในท่าอากาศยาน จะมีการบริการต่างๆ มากมาย เช่น ศูนย์บริการรถเช่า
ร้านค้า ภัตตาคาร สถานีเติมน้ำมัน ฯลฯ

รายละเอียด

1. อาคารผู้โดยสาร
2. อาคารท่าอากาศยานหลวง
3. อาคารศูนย์ไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ
4. อาคารสำนักงาน
5. อาคารรักษาความปลอดภัย
6. โรงแรมท่าอากาศยาน
7. หอบังคับการบินและสิ่งอำนวยความสะดวก
8. อาคารคลังสินค้า
9. อาคารส่งพัสดุภัณฑ์ด่วน
10. อาคารโภชนาการ
11. อาคารซ่อมบำรุงท่าอากาศยาน
12. อาคารซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในการให้บริการภาคพื้น
13. สถานรักษาพยาบาล
14. อาคารสโมสรและสันทนาการ
15. ศูนย์รถเช่า
16. ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน
17. สถานีน้ำมันและซ่อมบำรุงรถยนต์
18. อาคารสำหรับเครื่องบินเล็ก
19. สนามบินสำหรับเครื่องบินปีกหมุน
20. สนามฝึกดับเพลิง
21. อาคารดับเพลิงและกู้ภัย
22. อาคารไฟนำร่อง
23. สถานีเติมน้ำมันอากาศยาน
24. คลังน้ำมันอากาศยาน
25. สถานีแปลงไฟฟ้าย่อย
26. สถานีจ่ายน้ำประปา
27. สถานีกรองน้ำประปา
28. โรงบำบัดน้ำเสีย
29. ระบบเรดาร์
30. อาคารอุตุนิยมวิทยา
31. ถนนทางเข้าสายหลัก
32. ถนนทางเข้าสายรอง
33. ระบบขนส่งมวลชน/รถไฟฟ้าเข้าท่าอากาศยาน
34. สถานีรถไฟ
35. อาคารจอดรถ
36. ลานจอดรถระยะยาว
37. พื้นที่สำหรับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก
38. ศูนย์ธุรกิจย่อยท่าอากาศยาน
39. เขื่อนดินกั้นรอบสนามบิน รั้ว และถนน
40. สถานีสูบน้ำและพื้นที่บ่อเก็บน้ำ
45A. โรงผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น
45B. โรงจ่ายไฟฟ้า / โรงจ่ายน้ำเย็น
46. คลังสินค้าภายในประเทศ
47. อาคารอุปกรณ์เครื่องส่งวิทยุ
48. อาคารรับขยะเครื่องบิน
49. สถานีขนถ่ายขยะ
50. อาคารศูนย์ปฏิบัติการ
51. สิ่งอำนวยความสะดวกรวมในเขตปลอดอากร
52. อาคารรถโดยสารประจำทาง
53. ระบบจ่ายสาธารณูปโภค

บทม . เปิดให้ดูงานทุกวันจันทร์

บทม. เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทุกวันจันทร์ พร้อมทั้งเปิด
ให้ชมนิทรรศการ และแบบจำลองทุกวันทำการในเวลาราชการ

การเปิดให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในครั้งนี้ เนื่องจาก บทม.
ได้คำนึงว่าการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นโครงการก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของ
ประเทศไทย และมีการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในการก่อสร้างและบริหาร ซึ่งเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์
ต่อสังคมที่ควรถ่ายทอดให้ประชาชนและผู้สนใจได้รับทราบ

โดยในขณะนี้จะเปิดให้ผู้สนใจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ส่วนราชการ วิศวกร สถาปนิก สถาบันการศึกษา
ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบิน เข้าชมเป็นอันดับแรก ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมเฉพาะวันจันทร์
ในวันและเวลาราชการ วันละ 4 รอบ คือ รอบเวลา 9.00 น. เวลา 10.30 น. เวลา 13.00 น. และ
เวลา 14.30 น.แต่ละรอบจะรองรับได้ประมาณ 100 คน

การเข้าชมแต่ละครั้ง บทม.จะมีการฉายวีดีทัศน์ บรรยายสรุป ชมระบบจำลอง นิทรรศการ
และนำเข้าชมพื้นที่ก่อสร้างจริง เพื่อผู้เข้าชมจะได้เกิดความภาคภูมิใจกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แห่งนี้ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2.5 ชั่วโมง โดย บทม. แบ่งให้มีการเข้าชมเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. การเข้าชมนิทรรศการและแบบจำลอง บทม. เปิดให้ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันทำการ
ตามเวลาราชการ เวลา 8.00 น. – 17.00 น. ณ อาคาร NBIA 3

2. การเข้าฟังบรรยายสรุป และการเข้าชมจะต้องมาเป็นหมู่คณะ โดยติดต่อขอเข้าชมได้ที่
ส่วนงานประชาสัมพันธ์ บทม. (ในเวลาราชการ) โทร. 0-2723-0000 ต่อ 2078 – 2083